กฎความโน้มถ่วงสากล หรือบางคนเรียกว่า กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล

กฎความโน้มถ่วงสากล

      “อนุภาคของสสารต่างๆ ในเอกภพย่อมออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ด้วยแรงซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลคูณของมวลของอนุภาคเหล่านั้น และเป็นสัดส่วนผกผันกำลังสองของระยะทางระหว่างมวล” ดังสมการ

F = \frac{Gm_{1}m_{2}}{r^2}

โดยที่

  • F คือ ขนาดของแรงดึงดูดระหว่างมวลคู่ใดๆ มีหน่วยเป็นนิวตัน
  • G คือ ค่าคงที่ความโน้มถ่วงสากล มีค่าเท่ากับ 6.67 \times 10^{-11} N.m^2/kg^2
  • m1 คือ มวลก้อนที่ 1 มีหน่วยเป็นกิโลกรัม
  • m2 คือ มวลก้อนที่ 2 มีหน่วยเป็นกิโลกรัม

การนำกฎความโน้มถ่วงไปประยุกต์ใช้

การหามวลของโลก

หากมีมวล m ใดๆ วางอยู่บนผิวโลกที่มีรัศมี R และมีค่าความเร่งเนื่องจากสนามโน้มถ่วงของโลกอยู่ที่ g เมตรต่อวินาทีกำลังสอง เราสามารถหามวลของโลก M ได้ ดังนี้

จาก F = \frac{Gm_1m_2}{r^2} = \frac{GmM}{R^2}

โดยที่ F แทน น้ำหนักซึ่งเป็นแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำต่อวัตถุมวล m มีขนาดเท่ากับ mg

แทนค่า จะได้

mg = \frac{GmM}{R^2}

g = \frac{GM}{R^2}

จะสามารถหามวล M ของโลก ได้ดั้งนี้     M = \frac{g R^2}{G}

โดยที่ M คือ มวลของโลก, g คือ ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีค่าประมาณ 9.81 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ณ ผิวโลก, R คือ รัศมีของโลก มีค่าประมาณ 6,400 กิโลเมตร และ G ค่าคงที่ความโน้มถ่วงสากล มีค่าเท่ากับ 6.67 \times 10^{-11} N.m^2/kg^2  เมื่อแทนค่าจะทำให้ได้ว่า

 โลกเรามีมวลประมาณ 6.02 \times 10^{24}  กิโลกรัม หรือ 6 ล้านล้านล้านล้าน กิโลกรัม