การได้เปรียบเชิงกล (Mechanical Advantage) และประสิทธิภาพเชิงกล (Mechanical Efficiency) ต่างก็เป็นปริมาณที่บ่งชี้สมรรถนะของเครื่องกลว่าทำงานได้ดีเพียงใด ผ่อนแรงหรือไม่ และถ้าไม่ผ่อนแรง อาจจะช่วยอำนวยความสะดวก

1. การได้เปรียบเชิงกล (Mechanical Advantage)

เป็นปริมาณที่บ่งชี้อัตราส่วนที่ได้รับแรงกระทำจริงจากเครื่องกลต่อแรงที่ใส่เข้าไปให้กับเครื่องกล (พูดง่าย ๆ ว่า เป็นอัตราส่วนของปริมาณได้รับจริง ต่อ ใส่เข้าไปเต็ม ๆ) โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1.1 การได้เปรียบเชิงกลที่เกิดขึ้นจริง (Actual Mechanical Advantage: AMA)

AMA = \frac{F_{get}}{F_{take}}

โดยที่
F_{get} คือ แรงที่ได้จากเครื่องกลในหน่วยนิวตัน (N)
F_{take} คือ แรงที่ใส่จากเครื่องกลในหน่วยนิวตัน (N)

1.2 การได้เปรียบเชิงกลในอุดมคติ (Ideal Mechanical Advantage: IMA)

IMA = \frac{S_{machine}}{S_{take}}

โดยที่
S_{mec} คือ ระยะที่เครื่องกลได้ออกแรงกระทำ (N)
S_{take} คือ ระยะที่ออกแรงใส่ให้กับเครื่องกล (N)

mechanical advantage and eff
คานยกระดับ ถือว่าเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่ง เพราะแรงที่ใส่เข้าไปอาจทำให้เครื่องออกแรงมากขึ้นตามที่เราต้องการ ©thaiphysicsteacher.com

2. ประสิทธิภาพเชิงกล (Mechanical Efficiency : ME)

เป็นปริมาณที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องกลว่าทำงานได้มากเพียงใด เมื่อเทียบกับงานที่ใส่ให้กับเครื่องกล ดังนี้

ME = \frac{Work Output}{Work Input} \times 100\%

โดยที่

Work_{output} คือ งานที่ได้ ในหน่วยจูล
Work_{input}  คือ งานที่ให้กับเครื่องกล ในหน่วยจูล

ในความเป็นจริงไม่มีเครื่องกลใดที่มีประสิทธิภาพ 100% เพราะระหว่างการถ่ายโอนพลังงานอาจสูญเสียไปกับความร้อน หรือรูปพลังงานอื่น ๆ