กฎของ Kirchhoff สร้างขึ้นมาเพื่อการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าที่มีความซับซ้อนให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ประกอบไปด้วยกฎ 2 ข้อย่อย ดังนี้

กฎรอยต่อ หรือ กฎกระแสไฟฟ้าของเคอร์ชอฟฟ์ (Current law)

      กระแสไฟฟ้าเปรียบได้กับกระแสน้ำในท่อน้ำ สมมติ ถ้าไหลมาจากเส้นทางสองสาย แล้วเข้าท่อเดียว ผลรวมของกระแสขาเข้าจะเท่ากับผลรวมของกระแสขาออก ดังนั้นถ้าประจุไฟฟ้าไม่มีการเคลื่อนที่ออกจากเส้นตัวนำ (เหมือนน้ำที่ไม่รั่วจากสายยาง หรือท่อน้ำ) เราจะได้ว่า

ผลรวมของกระแสไฟฟ้าไหลเข้ารอยต่อ ณ จุดหนึ่ง = ผลรวมของกระแสไฟฟ้าไหลออกจากรอยต่อ ณ จุดหนึ่ง

กฎรอยต่อของเคอร์ชอฟ
กระแสไฟฟ้ารวมไหลเข้ามีสองกระแส คือ I2 และ I3 จะเท่ากับกระแสไฟฟ้า I1

หรือเขียนเป็นสมการได้ว่า

I_{in} = I_{out}

หรือเขียนอีกรูปแบบหนึ่งได้ว่า \Sigma{I} = 0

เมื่อ I คือ กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A)

ตัวอย่างที่ 1 จงบอกสมการกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าและออกจากรอยต่อตามกฎของเคอร์ชอฟฟ์

ตัวอย่างกฎรอยต่อ 1
ตัวอย่างกฎรอยต่อ 1

ลองคิดก่อนกดดูเฉลย

เฉลยตัวอย่างที่ 1
I_2 + I_4 = I_1 + I_3

ตัวอย่างที่ 2 จงบอกสมการกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าและออกจากรอยต่อตามกฎของเคอร์ชอฟฟ์

ตัวอย่างกฎเคอร์ชอฟฟ์
ตัวอย่างกฎเคอร์ชอฟฟ์ที่ 2

ลองคิดก่อนกดดูเฉลย

เฉลยตัวอย่างที่ 2
I_1 = I_2 + I_3 + I_4

Read Original Article and More Detail & Media
Kirchhoff’s current law (KCL).”. [Online]. via : wiki 2016.

Previous Page: กำลังไฟฟ้า

Next Page: กฎของเคอรร์ชอฟฟ์ : กฎวง