ในทางปฏิบัติหากเราจะนำตัวต้านทานที่มีความต้านทานคงที่ไปใช้ เราจะอ่านแถบสี โดยเทียบกับตารางก็จะทำให้ทราบค่าความต้านทานได้

     เป็นเรื่องยุ่งยากหากเราจะนำตัวต้านทานที่ไม่มีสีระบุไว้ไปใช้ เพราะทำให้ต้องทดลองหาค่าความต้านทานเสียก่อนทุกครั้ง แต่ถ้าตัวต้านทานมีแถบสีระบุ จะช่วยให้เรานำไปใช้ได้ง่ายขึ้น

     แถบสีแต่ละแถบบนตัวต้านทานจะช่วยให้เราสามารถหาค่าความต้านทานได้ดังนี้

แถบสีบนตัวต้านทาน
การอ่านค่าแถบสีบนตัวต้านทาน

     ตัวอย่างเช่น หากตัวต้านทานตัวหนึ่งมีแถบสี ดังรูป จากซ้ายไปขวา

ตัวต้านทาน
ตัวต้านทานมีสีเหลืองสองแถบ และสีดำสองแถบ

     แถบสีที่ 1 คือ สีเหลือง ค่าตัวเลขในหลักสิบ คือ 4

     แถบสีที่ 2 คือ สีเหลือง ค่าตัวเลขในหลักหน่วยได้ คือ 4

     แถบสีที่ 3 คือ สีดำ ค่าตัวพหุคูณที่นำไปคูณกับสองหลักแรก คือ 1

     แถบสีที่ 4 คือ สีดำ อ่านได้ว่า “ไม่มีค่าความคลาดเคลื่อน”

     ดังนั้นตัวต้านทานตัวนี้ มีค่าความต้านทาน เท่ากับ 44*1 = 44 โอห์ม นั่นเอง