กระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อ (Joint) ของมนุษย์สามารถฟื้นฟูสภาพได้เช่นเดียวกันกับที่พบในซาลาแมนเดอร์
นักวิจัยจาก Duke University Medical Center อ้างว่ากระดูกอ่อนที่อยู่ระหว่างข้อต่อ เช่น สะโพก เข่า และข้อเท้า สามารถฟื้นฟูสภาพตัวเองได้ เหมือนกับที่พบในสิ่งมีชีวิตอย่าง ซาลาแมนเดอร์ และปลาม้าลาย
ผลงานดังกล่าวตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา ในวารสารออนไลน์ Science Advances โดยนักวิจัยสามารถระบุกระบวนการฟื้นฟู/ซ่อมแซมของกระดูกอ่อน (Cartilage Repair) ได้ดังนี้
อัตราการฟื้นฟูสภาพกระดูกอ่อนจะพบได้มากที่ข้อเท้า ข้อเข่า และสะโพก ตามลำดับ
ตรวจพบได้อย่างไร
นักวิจัยได้ใช้นาฬิกาโมเลกุล (molecular clocks) – สามารถนำมาอนุมานอายุของกระดูกอ่อนที่พบระหว่างข้อต่อได้ โดยดูจากปริมาณกรดอะมิโน
พบว่าเนื้อเยื่อที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ จะมีสัดส่วนระหว่างกรดอะมิโนใหม่เทียบกับกรดอะมิโนที่แปรสภาพในค่าที่ต่ำกว่า เนื้อเยื่อที่อายุมากกว่า การทำความเข้าใจกระบวนการดังกล่าวนักวิจัยได้ใช้เครื่องมือวัด Mass Spectrometry ร่วมด้วยในการระบุปริมาณ Collagens รวมทั้งอายุของเนื้อเยื่อ
การค้นพบดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่าทำไมอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้า จะใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเร็วกว่าที่สะโพก
microRNA
หนึ่งในตัวช่วยในการฟื้นฟูสภาพของเนื้อเยื่อ คือ microRNA โดยมันจะทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการฟื้นฟูนี้ สามารถพบได้ในสัตว์ที่มีแขนขา ครีบ หาง เช่น ซาลาแมนเดอร์ ปลาม้าลาย ปลาน้ำจืดบางชนิดและกิ่งก่าในแอฟริกา
microRNA ยังพบในมนุษย์อีกด้วย นั่นหมายถึง ร่างกายของเรามีความสามารถในการฟื้นฟูเช่นเดียวกัน แต่ใช้เวลานานกว่า
Kraus หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า
“เราเชื่อว่าจะสามารถเร่งกระบวนการฟื้นฟูสภาพกระดูกอ่อนในข้อต่อมนุษย์ได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการรักษาโรคไขข้อเสื่อมในอนาคต แต่ปัจจัยในร่างกายของเราอาจไม่ดีเท่าของซาลาแมนเดอร์ นั่นคือ งานของเราที่จะเปรียบเทียบกว่าปัจจัยใดที่ซาลาแมนเดอร์มีแต่เราไม่มี และเราก็นำมันมาใช้ ไม่เพียงแต่การรักษาโรคไขข้อเท่านั้น อาจรวมถึงเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอีกด้วย”
เรียบเรียงโดย Einstein@min
Sources :
[1] Humans have salamander-like ability to regrow cartilage in joints. medicalxpress, 2019 : https://medicalxpress.com/…/2019-10-humans-salamander-like-…
[2] Analysis of “old” proteins unmasks dynamic gradient of cartilage turnover in human limbs. sciencemag.org ,2019 : https://advances.sciencemag.org/content/5/10/eaax3203
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
แอพ Blockdit : https://www.blockdit.com/thaiscience
Instagram : https://www.instagram.com/thaisciencenews
Twitter : https://twitter.com/Thaiphys